วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD)



โรคสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มเด็กวัย
เรียน เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักเกิดปัญหาในเรื่องของการควบคุมตัวเองต่ำกว่าอายุ จริง ไม่รับผิดชอบ 
ไม่มีมารยาท แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นอาการแสดงจะแตกต่างไปจากวัยเด็กอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในด้านการ
เรียน จะพบว่าผู้ป่วยจะขาดทั้งสมาธิและทักษะการเรียน ผลการเรียน ต่ำรวมทั้งคุณภาพในการสื่อสารที่ต่ำ
ทำให้เห็นภาพอารมณ์ทีทีแปรปรวนได้ง่ายกว่า ภาวะ hyperactive น้อยลงแต่จะเห็นลักษณะเบื่อง่าย  ขาด
ความอดทนด้อยทักษะในการทำกิจกรรมซึ่งส่งผลต่อการเข้าสังคม

ในปัจจุบันพบว่าโรคสมาธิสั้น (ADHD)พบได้ร้อยละ 3-10 ของเด็กในวัยเรียน และร้อยละ 5.1 ของเด็กวัย
อนุบาล มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยเด็กปรากฏอาการเมื่อเข้าวัยรุ่น และพบโรคในเด็กผู้ชายมากกว่าในเด็กผู้
หญิง 3-4 เท่า โดยมีสาเหตุเกิดจาก





1.  พันธุกรรม  พบอัตราการเกิดโรคสมาธิสั้นในญาติสายตรงได้ถึง 5 เท่า

2.  Neurotransmitter พบความบกพร่องใน dopamine receptor gene  ถ้ามี norepinephrine ต่ำ จะ
     ทำให้เกิดภาวะ hyperactivityและ impulsive

3. Neurobiology  ปัจจุบันพบหลักฐานว่า ความบกพร่องใน neurodevelopmental origin มากที่สุด พบ
    การทำงานที่ผิดปกติบริเวณfrontal cortex , cerebellum, corpus callosum, basal ganglia และ  
    บริเวณ prefrontal cortex ซึ่ง basal ganglia ทำหน้าที่ควบคุมแรงขับเคลื่อน (impulse) และ   
    prefrontal  cortex ทำหน้าที่เกี่ยวกับ executive function เกี่ยวกับการแก้ปัญหา สมาธิ การใช้ 
    เหตุผลการวางแผน การทำงานตามขั้นตอน โดยสาเหตุที่กล่าวข้างต้นเป็นผลให้มีอาการแสดง แบ่งได้ 
    3 กลุ่ม ดังนี้

- ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อในการทำงาน การเรียนหนังสือหรือในกิจกรรมอื่น 
   บ่อยๆ
- มีความลำบากในการตั้งสมาธิกับการงานหรือการเล่น
- ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
- ทำตามคำสั่งไม่จบหรือทำกิจกรรมอื่นไม่เสร็จ ซึ่งไม่ได้มากจากการดื้อดึงหรือไม่เข้าใจในคำชี้แนะ
- มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
- หลีกเหลี่ยงหรือไม่ชอบ ลังเล ที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม เช่น การบ้าน
-  ทำของหายบ่อยๆ มักวอกแวกตามสิ่งกระตุ้นภายนอก ลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำอยู่เสมอ

- ยุกยิก ขยับตัวหรือขาไปมา
- มักลุกจากที่ในห้องเรียนในที่อื่นที่ต้องนั่ง
- มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
- ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้
- เคลื่อนไหวตลอดเวลา คล้ายขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์
- พูดมากเกินไป

-  พูดแทรก พูดโพล่งก่อนคำถามจะจบ
-  มีความลำบากใจในการรอคอย
-  ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่นในวงสนทนา

โดยที่ความผิดปกติทางพฤติกรรมนี้เกิดมากกว่า 2 สถานที่ ส่งผลกระทบต่อการเรียน การเข้าสังคม หรืการทำงาน โดยอาการจะปรากฏก่อนอายุ 7 ปี และอาการเกิดนานเกิน 6เดือน แต่ปัจจุบันพบว่าสามารถเห็นอาการได้ตั้งแต่ในวัยอนุบาล
(เขียนโดย วินัดดา ปิยะศิลป์)












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น