วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

การประเมินสมาธิด้วยเครื่องทดสอบ Qik Test

 Qik Test (ควิกเทสต์ ) นวัตกรรมในการประเมินสุขภาพด้าน สมาธิ ของเด็กวัยเรียน
( 5 - 18  ปี ) ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อน ของสมาธิในเด็กแต่ละคน เพื่อวางแผน
พัฒนาด้านการศึกษาของบุตรหลานของท่าน ใช้เวลาเพียง 20 นาที ผลลัพท์จะแสดงเป็นรายงานและรูปกราฟสวยงาม...


อาการที่พบโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder)
นั้นก็คือ อาการสมาธิสั้น จดจ่อสิ่งใดไม่ได้นาน วอกแวกง่าย ไม่อยู่นิ่ง มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น เป็นต้น
ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่จะได้รับรายงานจากความรู้สึกของผู้ปกครองและครู จึงยังมีความแตกต่างหลากหลายได้ ในบางกรณีก็เป็นการยากที่จะตัดสินว่าบุตรของท่านเป็นโรคสมาธิสั้นจริงหรือไม่ แม้แต่คนในครอบครัวของเด็กเองก็อาจจะมีความเห็นแตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาในการนำเด็กมาเข้ารับการรักษาได้ นอกจากนี้ยังมีครูบางท่านที่ยังมีความคิดเห็นไปว่าการที่เด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่งนั้นเป็นลักษณะนิสัยของเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบในการเรียน เป็นสาเหตุให้เด็กกลุ่มนี้ถูกตำหนิและถูกลงโทษ ทั้งๆที่ปัญหานี้เป็นการทำงานของสมองด้านสมาธิที่บกพร่องไปต่างหาก เด็กจึงไม่ควรถูกมองว่ามีพฤติกรรมไม่ดี


จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้มีวิธีการที่สามารถประเมินระดับสมาธิของคนแต่ละคน ให้ออกมาเป็นค่าคะแนนได้อย่างชัดเจนและมีค่าเปรียบเทียบกับคนในวัยเดียวกัน เรียกว่า Continuous performance test (CPT)ทำให้สามารถระบุปัญหาเรื่องสมาธิสั้นได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สามารถบอกรายละเอียดของค่าคะแนนสมาธิในแต่ละด้าน และใช้ติดตามผลการรักษาได้ดีกว่าการบอกด้วยความรู้สึกของแต่ละคน


เครื่องมือที่กำลังพูดถึงนี้เรียกว่า Qik Test ตัวเครื่องเป็นแป้นกดขนาดเล็กคล้ายเกมส์กดของเด็ก เครื่องจะให้สัญญาณไฟกระพริบในลักษณะต่างๆ ซึ่งเด็กที่ถูกทดสอบนั้นต้องตั้งใจ คอยดูสัญญาณไฟนั้นว่าจะต้องตอบสนองด้วยการ กดหรือไม่กด (Go/ No-go) เครื่องมือ Qik Test นี้จะบันทึกค่าการกดเกิน (Commission errors) เพราะไม่ระมัดระวังหรือขาดการยับยั้งตัวเองไป บันทึกการลืมกด(Omission errors) เป็นตัวบอกความสนใจจดจ่อซึ่งอาจเกิดจากความไม่ใส่ใจ เหม่อลอย เบื่อหน่าย บันทึกค่าความเร็วในการตอบสนอง ( Response time) และความคงเส้นคงวาในการตอบสนองในแต่ละช่วงเวลา( Variability of response) จากค่าคะแนนทั้งหมดที่ว่ามานี้ จะนำมาเขียนกราฟแจกแจงในแต่ละช่วงเวลา สามารถบอกจำนวนครั้งที่ทำถูกต้องหรือทำผิด และที่สำคัญคือสามารถเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน(Standard score) ของคนในช่วงวัยเดียวกัน คล้ายกับการทดสอบเชาวน์ปัญญา (IQ) คือให้คะแนนปกติคือ 85-115 คะแนน หากสูงกว่า 120 แสดงว่าเด็กมีสมาธิดีกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกันอย่างชัดเจน แต่ในทางตรงข้ามหากค่าคะแนนต่ำกว่า 80 แสดงว่าเด็กมีปัญหาเรื่องสมาธิสั้นแล้ว


สามารถนำค่าคะแนนมาตรฐานมาเขียนเป็นกราฟแท่ง ช่วงที่อยู่ในแถบสีขาวคือค่าปกติ (กราฟด้านล่าง)




กราฟแสดงจำนวนครั้งที่ผู้ถูกทดสอบกดเกิน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสมาธิได้ จากรูปด้านล่างแสดงสี่เหลี่ยมสีแดง เมื่อกดเกิน (Commission errors)




เมื่อนำมาแจกแจงกับค่าปกติจะพบว่าค่าคะแนนส่วนใหญ่(กราฟแท่งสีแดง) ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน (รูปโค้งระฆังคว่ำสีน้ำเงิน)




การสามารถประเมินการทำงานของสมาธิได้ละเอียดถูกต้องครบถ้วนนี้ มีความสำคัญต่อการวางแผนการศึกษาสำหรับเด็กคนนั้นๆ และจะเป็นผลดีอย่างยิ่งในการประเมินติดตามผลการรักษา ซึ่งค่าคะแนนที่ดีขึ้นแสดงว่าเด็กมีสมาธิจดจ่อได้ต่อเนื่องมากขึ้น สามารถควบคุมจิตใจตัวเองไม่ให้วอกแวก จะส่งผลให้เด็กสามารถใช้ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ความจำ การคำนวณ การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การทดสอบด้วยเครื่องทดสอบนี้ สามารถทำในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป ใช้เวลาทดสอบเพียง 20-30 นาที และทราบผลทันที มีค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประโยชน์ต่อการประเมิน การติดตามผลด้านสมาธิ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น