Neurofeedback เป็นเทคนิคในการดูแลและพัฒนาให้เด็กมีความสามารถคงสมาธิ และ ควบคุมอารมณ์ ได้ดีขึ้น โดยใช้การสะท้อนกลับของคลื่นสมองในบริเวณที่ต้องการฝึก/ปรับ และแสดงออกมาผ่านในรูปของภาพเคลื่อนไหวและเสียง หรือเกมส์ เพื่อให้สมองได้เรียนรู้ตัวเองและปรับความสมดุลของตัวสมองเอง (ขบวนการนี้เป็นความสามารถตามธรรมชาติของสมองของเราทุกคน สมองนั้นมีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า “brain platisity”)
Neurofeedback สามารถเป็นทางเลือกเสริมสำหรับการดูแลและพัฒนาเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น เนื่องจากมีการศึกษา พัฒนา และวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30ปีแล้ว และในปัจจุบันงานวิจัยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเป็นอย่างมากและมีการใช้อย่างแพร่หลายใน สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป
ข้อดีของการทำ neurofeedback
1. ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยา
2. ให้ผลดีในระยะยาวเนื่องจากเป็นการฝึกปรับการทำงานของสมองของตัว
เราเองทำให้ สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพ คงสมาธิ และ ควบคุมอารมณ์
ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ เรียนรู้ได้ดีขึ้น
3. เป็น non-invasive treatment เนื่องจากเป็นการฝึกปรับคลื่นสมองเราเอง
ไม่เจ็บและไม่มีอันตราย
*** ผลจากการรีวิวล่าสุดเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นด้วย neurofeedback โดยใช้เกณฑ์ 4 ระดับของ American Academy of Child and Adolescent Psychiatry (AACAP) –appendix 1 ***
American Academy of Child and Adolescent Psychiatry (AACAP) ได้รับรองให้ neurofeedback อยู่ในระดับ 3 หรือ CG – Clinical guidelines
Children and Adults with Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder (CHADD) ได้รับรองให้ neurofeedback อยู่ในระดับ 2 หรือ OP – Option
สำหรับการใช้เกณฑ์ของ The American Psychological Association (APA) ซึ่งได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินสำหรับงานวิจัยวิธีการดูแลรักษาอาการทางจิต (mental health treatment)ที่ 5ระดับ - appendix 2
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน US National Library od Medicine, National Institute of health - Arn et. Al. (2009) โดยนักวิจัยได้ทำ meta-analysis study ทั้งหมด 15 studies ซึ่ง 4 ในนั้นมีการซุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่ม ผลงานวิจัยได้จัดอันดับ Neurofeedback เพื่อการดูแลรักษา (treatment) ADHDอยู่ที่ระดับ 5 (Efficacious and Specific) โดยการทำ neurofeedback นี้มีผลอย่างมากในการเพิ่มการคงสมาธิ(attention)และ impulsivity และมีผลในระดับกลางสำหรับ hyperactivity ซึ่งมีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับข้อสรุปของ CHADD ซึ่งให้อยู่ในระดับ 2 อย่างไรก็ตาม the Journal of Attention Disorders ได้ตีพิมพ์ข้อสรุปซึ่งมีเนื่อหาไปในทิศทางเดียวกับวิจัย Arn et. Al.(2009) คือ neurofeedback มีผลอย่างมากในด้าน การคงสมาธิ (attention) และมีผลขนาดกลางในด้าน hyperactivity และ impulsivity
นอกจากนี้ Association for Applied Psychophysiology and Biofeedback (AAPB) ได้จัดให้ Neurofeedback และ biofeedback มีความน่าเชื่อถือและได้ผลในระดับที่ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ.
Referrences:
1.New Review of Neurofeedback Treeatment for ADHD – Current state of the science โดย Dr. David Rabiner
2.งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน US National Library od Medicine, National Institute of health - Arn et. Al. (2009)
3.รายละเอียด scale ของ APA, AACAP
4.New studies supports neurofeedback treatment for ADHD
5.Long term effects of neurofeedback treatment for ADHD
6. Neurofeedback QEEG for ADHD analysis
7.เอกสารของ AAPB
Appendix
- .American Academy of Child and Adolescent Psychiatry (AACAP) – scale
Level 1- Not Endorsed (NE) หมายถึง การดูแลรักษาที่ไม่ได้ผล (applied to practices that are known to be ineffective)
Level 2-Option (OP) หมายถึง มีหลักฐานปรากฎ และ มีความคิดเห็นทางการแพทย์ แต่หลักฐานการวิจัยไม่เพียงพอและการได้รับการยอมรับทางการแพทย์ยังมีในบางกลุ่มเท่านั้น (applied to recommendations that are acceptable based on emerging empirical evidence or clinical opinion, but lack of strong empirical evidence and/or clinical consensus)
Level 3-Clinical Guidelines (CG) หมายถึง มีหลักฐานงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือมาก และได้รับการยอมรับทางการแพทน์อย่างเป็นอย่างมาก (applied to recommendations based on strong empirical evidence, and/or an strong clinical consensus)
Level 4- Minimal Standard (MS) หมายถึง มีหลักฐานงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างสูง และได้รับการยอมรับทางการแพทน์อย่างเป็นเอกฉันฑ์ (applied to recommendations backed up by rigorous empirical evidence, and/or an overwhelming clinical consensus)
2. The American Psychological Association (APA) -scale
Level 1 – Not empirically supported หมายถึง การดูแลรักษานั้นได้ผลดีจากการสุ่มตัวอย่าง ไม่ได้มาจากการวิจัยที่เป็นระบบ (supported only through anecdotal evidence or non-peer reviewed case studies)
Level 2 – Possibly Efficacious หมายถึง การดูแลรักษานั้นได้ผลดี จากอย่างน้อย 1 งานวิจัย แต่งานวิจัยนั้นยังขาดการสุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่ม (shown to have a significant impact in at least one study, but the study lacked a randomized assignment between controls)
Level 3 – Probably Efficacious หมายถึง (shown to produce positive effects in more than on clinical, observational wait list or within-subject or between-subject study
Level 4 – Efficacious หมายถึง (shown to be more effective than a no-treatment or placebo control group; the study must contain valid and cleary specifid outcome measures, and it must be replicable by at least two independent researchers demostrating the same degree od efficacy)
Level 5 – Efficacious and Specific หมายถึง (shown to be statistically superior to crediblew placebo therapies or to actual treatments, and it must be shown as such in two or more independent studies)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น