HEG (Hemoencephalography) เป็นเทคนิคการศึกษาการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองใน
บริเวณที่ต้องการศึกษาสำหรับการทำ Neurofeedback โดยใช้อุปกรณ์คาดศีรษะที่เรียกว่า nirHEG,
pirHEG และ Neurofeedback นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Biofeedback
Biofeedback ( Bio=ชีวิต, feedback = การสะท้อนกลับ) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับฝึกให้ร่างกายเฉพาะ
ส่วน โดยเฉพาะส่วนที่เราควบคุมเองไม่ได้ (involuntary control) ให้ทำงานได้ดีขึ้นโดยใช้สัญญาณจาก
ร่างกายของเรา สะท้อนกลับมาสอนร่างกายของเราเอง การทดลองนี้เกิดขึ้นในยุค 1940’s โดยได้มีการ
ฝึกให้กลุ่มตัวอย่างทำการฝึก ปรับเปลี่ยนกิจกรรมของสมอง (brain activity)ความดัน การเกร็งของกล้าม
เนื้อ จังหวะการเต้นของหัวใจ และ การทำงานของร่างกายในส่วนอื่นๆที่เราไม่สามารถควบคุมได้เองจน
กระทั่งปี 1969 จึงได้มีการเรียกขบวนการฝึกนี้ว่า biofeedback
โดยทั่วไปการฝึก biofeedback จะใช้เครื่องมือวัดคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากร่างกายของเราเอง (เกิดจาก
การส่งสัญญาณ (firing)ระหว่างเซลประสาท (neuron)) และนำมาแปลผลในรูปแบบที่เราสามารถรับรู้ได้
เช่นนำสัญญาณที่วัดได้มาควบคุมการกระพริบของหลอดไฟ หรือ ออด เช่นถ้าเราต้องการฝึกให้กล้ามเนื้อ
ผ่อนคลาย เราก็จะต้องพยายามควบคุมให้หลอดไฟกระพริบช้าลงหรือเสียงออดดังเป็นจังหวะช้าๆ โดย
การควบคุมนี้จะต้องเกิดมาจากภายในของตัวเราเอง ไม่ใช่ไปควบคุมที่สวิทซ์ภายนอกนอกจากการฝึก
ควบคุมกล้ามเนื้อแล้ว biofeedback ยังใช้สำหรับฝึกการควบคุม อุณหภูมิที่ผิว การเต้นของหัวใจ ต่อม
เหงื่อและคลื่นสมอง การฝึกการควบคุมคลื่นสมองนี้เรียกว่า neurofeedback
Neurofeedback (Neuro=ระบบประสาท, feedback=การสะท้อนกลับ) เป็นรูปแบบหนึ่ง
ของbiofeedback ที่เน้นการฝึกการทำงานของสมอง
ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ
1.Neurofeedback using EEG (electroencephalography): ใช้อุปกรณ์รับและขยายสัญญานคลื่นไฟฟ้า
ที่เกิดจากการ firing ของneuronขณะที่เซลสมอง (neurons) กำลังทำงาน
2. Neurofeedback using HEG (Hemoencephalograph): ใช้อุปกรณ์วัดและศึกษาการไหลของเลือด
ในสมองเฉพาะบริเวณที่ต้องการฝึก
(note1: ในขณะที่เลือดไปเลี้ยงสมองในส่วนนั้นๆ เลือดได้นำเอาสิ่งจำเป็นสำหรับทำให้เซล
สมอง(neuron) มีชีวิตและทำงานได้ไปให้คือ ออกซิเจน(oxygen) กลูโคส(glucose) และอื่นๆ การเอา
ออกซิเจนไปเติมให้เซลนี้เรียกว่าoxyenation ขณะที่สมองกำลังทำงานก็เกิด
การ firing หรือส่งสัญญาณระหว่างเซลสมอง (neurons)
เทคนิคการศึกษาการปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือHEG (Hemoenephalography) คิดค้นโดย
Dr.Hershel Toomimโดยใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า nirHEG (near infrared HEG) โดย Dr.Hershel
Toomim และ pirHEG (passive infrared HEG)
โดย Jeffrey A. Carmen
สมองแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น สมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) เป็นส่วน ควบคุม ประมวล
ผล ตัดสินใจ รวมถึงความสามารถในการคงสมาธิ สมองด้านข้าง (temporal lobes) เกี่ยวข้องกับความจำ
การนึกและเลือกใช้คำศัพท์ การได้ยินเสียง และอารมณ์ ส่วน parietal lobes ช่วยในเรื่องทิศทาง
สมองมีบทบาทสำคัญในการกำหนด พฤติกรรม การโต้ตอบรับมือกับอารมณ์ การเรียนรู้ เช่นถ้าสมองส่วน
หน้า (prefrontal cortex)ทำงานบกพร่องเรามักจะพบปัญหาในการ ประมวลข้อมูล การตัดสินใจ การ
ควบคุมอารมณ์ หรือถ้าเราพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความจำอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย ก็จำพบว่า
temporal lobe ทำงานบกพร่อง สำหรับผู้ที่หลงทิศหลงทางง่าย ก็จะพบว่า parietal lobeทำงานบกพร่อง
ดังนั้นเมื่อเรารู้ปัญหา และที่มาของปัญหาแล้ว เราก็สามารถฝึกฝน(ออกกำลัง)สมองในส่วนนั้นได้เพื่อให้
สมองทำงานได้ดีขึ้น
สรุป Neurofeedback using HEG หรือเรียกสั้นๆว่า HEG คือการ neurofeedback เพื่อฝึกสมอง
(brain activity)ด้วยการใช้เทคนิคการศึกษาปริมาณเลือดเฉพาะที่ โดยเป็นการฝึกเพื่อให้เพิ่ม
ปริมาณการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงสมองในบริเวณที่ต้องการ ผลจากการ
ฝึกนี้ต่อเนื่องไปถึงกระบวนการ neuroplasticity ในการสร้างระบบเครือข่ายสมอง(neuron
network) และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น ทำให้สมองแข็งแรงขึ้น ทำงานได้ดีขึ้นและชะลอ
การเสื่อมของเครือข่ายสมอง
ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ถ่ายจากเครื่อง SPECT แสดงให้เห็นว่าสมองก่อนทำ HEG ของหญิงอายุ 67ปี
ซึ่งมีอาการความจำเสื่อมวิตกกังวล ซึมเศร้า และความดันสูง มีส่วนที่สมองทำงานได้ไม่ดี (เป็นบริเวณที่
เป็นสีฟ้า) อยู่มาก แต่หลังจากทำ HEG แล้วพบว่าสมองกลับมาทำงานได้ดีขึ้นสังเกตได้จากพื้นที่สีฟ้าลด
ลงเปลี่ยนเป็นสีแดงและเหลืองมากขึ้น (สีแดงคือ active ที่สุด ต่ำสุดคือสีม่วง)
Note: เลือดประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา(plasma) และเซลเม็ดเลือด (blood cell)
เลือดทำหน้าที่พาออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของเซลไปให้เซลทั่วร่างการโดยวิ่ง
ไปตามเส้นเลือดต่างๆ ร่างการของเราฉลาดมากคือถ้าหากพบว่าส่วนใดของร่างกายกำลังทำงานหนักอยู่
ก็จะให้เลือดไปที่ส่วนนั้นๆมากขึ้นเป็นพิเศษ และในขณะที่เซลสมองกำลังทำงานอยู่นั้นก็จะเกิดความร้อน
ที่เกิดจากการเผาผลาญ (metabolism) เลือดและการไหลเวียนยังช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณนั้นๆเพื่อลด
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเซลสมองได้ สมองมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของร่างกายแต่ใช้
พลังงานถึง 20%ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายเราต้องการ
Remark: บทความสรุปมาจาก www.biocompresearch.com ซึ่งก่อตั้งโดย Dr.Hershel Toomom
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น