วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ( Transcranial Direct Current Stimulation [tDCS])
เครื่องกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน(tDCS)
มีกลไกการทำงานโดยให้ไฟฟ้ากระแสตรง 1-2 มิลลิแอมแปร์ส่งผ่านพื้นที่ในบริเวณกว้างของสมองที่ต้องการ โดยจะมีทั้งขั้วบวก ( anode) และขั้วลบ (cathode) กระแสไฟฟ้าจะไหลอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่คงที่โดยใช้วงจรควบคุมความคงที่ของกระแส เป็นเวลานาน 20 นาที ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองส่วนนั้น ทั้งสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นส่วนของของสมองที่ทำงานน้อยเกิดนไป หรือยับยั้งส่วนของสมองที่ทำงานมากเกินไป
คุณสมบัติการทำงานของ tDCS ที่เมื่อเปรียบเทียบกับการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กหรือ TMS นั้นพบว่ามีความแตกต่างกัน คือ tDCSจะทให้เกิดการปรับสภาพการทำงานของสมองที่ส่วนกระตุ้นนั้นมากกว่า มีผลต่อเนื่องหลังการรักษาได้นานกว่า และเกิดผลข้างเคียงเช่นอาการเจ็บบริเวณที่ถูกกระตุ้นน้อยกว่า ราคาถูกกว่ามาก แต่สิ่งที่ TMS เหนือกว่า tDCS คือ การจำกัดบริเวณที่จะกระตุ้นให้มีความเฉพาะในแต่ละส่วนของสมองนั้น TMS จะทำได้ดีกว่า
ในปัจจุบัน tDCS กำลังได้รับความสนใจและการศึกษาในภาวะต่างๆอย่างกว้างขวาง เช่น
- ภาวะสมองขาดเลือด
- โรคซึมเศร้า
- ภาวะปวดเรื้อรัง และ fibromua;gia
- โรคลมชัก
- ภาวะเสียงในหู (tinnitus)
- โรคพาร์กินสัน
- โรคกล้ามเนื้อเกร็งตัวผิดปกติ (dystonia)
- ภาวะความจำบกพร่อง
*** ความปลอดภัย ***
เมื่อคำนึงถึงขนาดกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนที่ใช้ tDCS น่าจะเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยมาก กล่าวคือ ในการศึกษาทางคลินิก ไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ และเมื่อพิจารณาจากความหนาแน่นของกระแส (current density) จะพบว่า tDCS ที่ใช้อยู่นี้ มีค่า current density เท่ากับ 0.03 ( 1mA /35cm2) และ 0.06 ( 2mA/ 35 cm2) และมีการศึกษาว่า current density ที่ต่ำกว่า 25 mA/cm2 ไม่ทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อสมอง
** ในปัจจุบัน tDCS ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลองผล การใช้รักษาภาวะใดนั้นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น **
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น