วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Brain Test


How to Test Your Brain…

เราจะทราบได้อย่างไรว่าสมองของเรามีการทำงานประสาทกันได้ดีมากน้อยเพียงใด?
สมาธิของเรา..สามารถคงอยู่ได้นานแค่ไหน? สมองของเราทำงานได้เต็มศักยภาพหรือยัง?...หากไม่มีการทดสอบศักยภาพสมอง

สมองของเราทำงานภายใต้การเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาทเป็นล้านๆเซลล์ และมีโครงสร้างหลาก
หลายส่วนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการจะวัด ประเมินการทำงานของสมองนั้น มิใช่เพียงแค่การ
วัดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดและนำผลที่ได้นั้นมาวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งใน
การเลือกใช้เครื่องมือก็ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้รับบริการมีข้อมูลรายละเอียดอย่างไร ควรจะทดสอบทางด้านไหน
บ้าง ในผู้รับบริการแต่ละคนก็จะมีรายละเอียดอันมีความเหมาะสมกับเครื่องมือที่แตกต่างกันไป

แต่ก็มีเครื่องมือบางอย่างที่สามารถใช้วัด ประเมินผลได้อย่างแม่นยำ อ้างอิงจากหลักการทางสถิติที่มี
แหล่งที่มาอย่างชัดเจนและสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่มีอคติในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรม 
สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือที่

Mind Brain Center ได้นำเข้ามาใช้เพื่อวัดประเมินการทำงานของสมองของผู้ที่เข้ามารับบริการ เป็น
เทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเน้นไปที่การวัดการทำงานของสมองส่วนหน้า (frontal 
lobe) ที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการมี
สมาธิและการคงสมาธิ ดังนี้




QIK test เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการประสิทธิภาพการทำงานของสมอง คือ

การคงความสนใจอย่างต่อเนื่อง หรือ sustained attention 

ในการที่คนเรามีความสนใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆนั้นต้องอาศัยการทำงานของ
สมองส่วนหน้า frontal lobe

การควบคุมและความยับยั้งชั่งใจตนเอง หรือ impulse control 

เป็นการแสดงออกถึงวุฒิภาวะของแต่ละคน นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงอาการวิตกกังวล
ย้ำคิดยำทำได้อีกด้วย กล่าวคือ ซึ่งก็ต้องอาศัยการทำงานของสมองส่วนหน้าเป็นหลักเช่น
กัน

ความรวดเร็วในการตอบสนอง หรือ speed of response 

คือการตอบสนองต่อสถานการณ์ หรืองานที่ทำอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความหุนหัน
พลันแล่น การเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาทส่วนfrontal lobe และ occipital lobe  การ
ทำงานประสานกันระหว่างมือและตา(eye-hand coordination)

ความคงเส้นคงวาในการตอบสนอง หรือ consistency of response 
เป็นความสม่ำเสมอในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆทั้งในแง่ของระยะเวลาและความรวดเร็ว 
อีกนัยยะหนึ่งก็สามารถบ่งชี้ถึงสมาธิของผู้รับการทดสอบด้วย หากผู้ทดสอบมีสมาธิมั่นคง
จดจ่ออยู่กับtestหรือสถานการณ์ที่กำลังเผชิญนั้นแล้ว ก็จะทำให้มีpointในการตอบสนอง
อย่างสม่ำเสมอต่อ test ออกมาใกล้เคียงกันในแต่ละจุด

เมื่อนำทั้ง 4 หัวข้อมารวมกันแล้วจะสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ว่าสมองของผู้รับการทดสอบนั้นมีการ
เชื่อมต่อของกระแสประสาทที่ดีหรือไม่ อย่างไร แต่นอกจากนั้นก็ยังมีการนำ testอื่นๆเข้ามาใช้ร่วมด้วย
เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ผลที่แม่นยำมากขึ้น และเครื่องมือที่มีความสำคัญ
และให้ประสิทธิภาพสูงมากคือ qEEG 

โดย..ศิรินภา จิตต์ซื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น